วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การหาระยะปลอดภัย

การหาระยะปลอดภัย
การนับหน้า หลัง 7 เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ใช้ได้เฉพาะกับสตรีที่มีรอบเดือนปกติ (รอบเดือน หมายถึง จำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือน ไม่ใช่รอบเดือนตามปฏิทิน) มาตรงเวลาสม่ำเสมอทุกเดือน คือ ประมาณ 26-32 วัน ซึ่งโดยปกติแล้วสตรีทั่วไปจะมีรอบเดือนประมาณ 28 วัน แต่บางคนก็มีรอบเดือนที่สั้นกว่าหรือยาวกว่านี้ แต่โดยปกติแล้วจะบวกลบไม่เกิน วัน คือ ไม่สั้นกว่า 26 วัน และไม่ยาวกว่า 32 วัน โดยระยะปลอดภัยที่ว่านี้ก็คือ ระยะในช่วง วันก่อนที่ประจำเดือนจะมารอบหน้า และระยะ วันหลังจากที่ประจำเดือนมาวันแรก (ให้เริ่มนับวันแรกตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมา)
ตัวอย่าง : สตรีรายหนึ่งมีรอบเดือนมาสม่ำเสมอเท่ากันทุกรอบเดือน โดยมีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือน คือ 28 วัน สมมติว่าประจำเดือนของนางสาว ก. ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ มกราคม 2558 ดังนั้น ช่วงระยะปลอดภัย “หลัง 7” จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน คือ วันที่ มกราคมไล่ไปจนครบ วัน คือ วันที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 มกราคม 2558 ส่วนช่วงระยะปลอดภัย “หน้า 7” นั้น สตรีรายนี้มีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือน คือ 28 วัน ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ มกราคมไปจนครบ 28 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 27 มกราคม ก็ให้เอาวันที่ 27 มกราคมเป็นวัน “กำหนดหน้า 7” ฉะนั้นหน้า จะต้องนับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคมย้อนกลับมาจนครบ วัน คือ วันที่ 27, 26, 25, 24, 23, 22, 21 มกราคม 2558 ซึ่งจะเป็นช่วงปลอดภัย ที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติครับ จากนี้ก็รอให้ประจำเดือนมาก่อน แล้วจึงเริ่มการนับ “หลัง 7” ใหม่อีกรอบครับ
การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method หรือ Knaus-Ogino method) จะอาศัยหลักทางชีววิทยาที่ว่า “ทุก ๆ 28 วัน สตรีจะมีการตกไข่ในวันที่ 14 ของรอบเดือน (เริ่มนับเป็นวันแรกตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมา) ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไป ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ไม่เกิน วัน ดังนั้นโอกาสตกไข่จึงอยู่ในช่วงวันที่ 12-16 ของรอบเดือน เมื่อไข่ตกแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้อีก วัน โอกาสการตั้งครรภ์จึงมีเพิ่มขึ้นจนถึงวันที่ 17 ของรอบเดือน ส่วนเชื้ออสุจิจะมีชีวิตรอผสมอยู่ได้ประมาณ วันก่อนไข่ตก ดังนั้นช่วงที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกก็คือวันที่ 10 และ 11 ของรอบเดือน พอรวมแล้วก็จะได้วันปลอดภัยคือวันที่ 10-17 ของรอบเดือน

จากสูตรนี้ถ้ามีรอบเดือนมาสม่ำเสมอก็คงคำนวณได้ไม่ยาก แต่ในกรณีที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้น การหาช่วงเวลาปลอดภัยจะต้องทำโดยการจดบันทึก “ความยาวของรอบเดือน” ไว้ทุก ๆ เดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 8-12 เดือน (12 เดือนจะชัวร์สุด) แล้วมาดูว่ารอบเดือนครั้งไหนมีจำนวนวันที่สั้นที่สุดและยาวที่สุด แล้วจึงนำมาคำนวณด้วยสูตรด้านล่างเพื่อหาระยะไม่ปลอดภัย (สูตรนี้จะแม่นยำมากกว่าสูตรหน้า หลัง ครับ) ดังนี้
  • วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = จำนวนวันที่สั้นที่สุดของรอบเดือน – 18
  • วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = จำนวนวันที่ยาวที่สุดของรอบเดือน – 11
ยกตัวอย่าง : สตรีรายหนึ่งได้จดจำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือนไว้จำนวน 11 เดือน คือ 26, 24, 25, 28, 26, 27, 29, 30, 26, 28, 29 จะเห็นได้ว่ารอบประจำเดือนที่สั้นที่สุดคือ 24 วัน และยาวสุดคือ 30 วัน เมื่อนำมาคำนวณจะได้วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = 24-18 ส่วนวันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = 30-11 19 ดังนั้น ระยะไม่ปลอดภัยที่สตรีรายนี้ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ จนถึงวันที่ 19 ของรอบเดือนหน้า (ไม่ใช่เดือนตามปฏิทิน) สำหรับวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (ซึ่งเป็นวัยที่มีการตกไข่บ่อยกว่าวัยอื่น) สตรีหลังแท้งบุตร หรือคุณแม่คลอดบุตรใหม่ ที่ประจำเดือนจะยังมาไม่ค่อยสม่ำเสมอ รังไข่ยังทำงานไม่ปกติ ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ครับ เพราะมีโอกาสผิดพลาดได้สูงมาก
การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (The standard days method – SDM) เป็นการกำหนดช่วงวันอันตรายไปเลยว่าในวันที่ 8-19 ของรอบเดือน เป็นวันที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยเป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยของรอบประจำเดือนเฉพาะในสตรีที่มีรอบเดือนประมาณ 26-32 วัน (ช่วงปลอดภัยแรกจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ 1-และอีกช่วงปลอดภัยคือตั้งแต่วันที่ 20-32) หากต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันที่ 8-19 ของรอบเดือน

การตรวจมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus หรือ Ovulation method) จะอาศัยหลักที่ว่า “มูกปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเหนียวข้นและความยืดหยุ่นไปตามอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในแต่ละรอบเดือน” วิธีการสังเกตนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สตรีสามารถสังเกตลักษณะของมูกในช่องคลอดได้ด้วยตนเอง แต่ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่ากล้าสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอดหรือไม่ เพราะการตรวจมูกที่ปากมดลูกจะต้องทำทุกวัน โดยการสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด แล้วสังเกตดูการหล่อลื่นของมูกที่ติดนิ้วออกมา แต่สำหรับมือใหม่ก็นับว่าค่อนข้างยาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของมูกในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน และหลาย ๆ คนไม่สามารถที่จะแยกแยะหรือสังเกตความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ยิ่งถ้ามีอาการอักเสบในช่องคลอดหรือมีการร่วมเพศด้วยแล้ว มูกที่ปากมดลูกก็อาจเปลี่ยนจนทำให้ตรวจได้ยากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในทางการแพทย์การเปลี่ยนแปลงของมูกที่ปากมดลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 5-ระยะ แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายอาจจะแบ่งออกเป็น ระยะ ดังนี้
  • ระยะปลอดภัยก่อนไข่ตก : เป็นช่วงหลังประจำเดือนหยุดใหม่ ๆ ในช่วงแรกจะไม่มีมูก ต่อมาจะมีมูกสีขาวขุ่น ๆ หรือสีเหลืองจำนวนไม่มากนัก
  • ระยะตกไข่ : ช่วงนี้จะมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ได้มากที่สุด ระยะนี้มูกที่ปากมดลูกจะมีมาก โดยจะมีลักษณะใสและลื่น (คล้าย ๆ กับไข่ขาวดิบ และสามารถดึงยืดเป็นเส้นได้ยาวเกินกว่า เซนติเมตร) จึงทำให้ตัวอสุจิจะผ่านมูกนี้เข้าไปในโพรงมดลูกได้สะดวก หากมีการร่วมเพศในช่วงนี้ก็จะเสี่ยงทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูง จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้หากต้องการคุมกำเนิด
  • ระยะปลอดภัยหลังการตกไข่ : เป็นระยะที่ปลอดภัยเช่นเดียวกับระยะก่อนตกไข่ เพราะใกล้จะมีประจำเดือนครั้งต่อไป ในระยะนี้มูกจะมีจำนวนน้อยลง มีลักษณะขุ่นข้นขึ้น และดึงยืดไม่ได้มากนัก

ข้อดีของการตรวจมูกที่ปากมดลูก : มีความปลอดภัยมากและไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้ยาใด ๆ อีกทั้งยังไม่ขัดต่อหลักการของบางศาสนาที่เคร่งครัดในเรื่องการคุมกำเนิด เมื่อเลิกคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้แล้วก็ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ตามมา และสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ
ข้อเสียของการตรวจมูกที่ปากมดลูก : ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดยังน้อย มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ เพราะต้องคอยสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอดเพื่อสังเกตมูกทุกวัน ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกเบื่อหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของคู่สมรสได้ เช่น บางครั้งต้องการจะมีแต่ไม่ตรงกับระยะที่ไม่ปลอดภัย พอถึงระยะปลอดภัยแต่กลับไม่รู้สึกว่ามีความต้องการ เป็นต้น
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature – BBT) เป็นการใช้ความรู้ด้านสรีรวิทยาที่ว่า อุณหภูมิในร่างกายจะลดลง 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมีการตกไข่ และหลังจากนั้นก็จะสูงขึ้นประมาณครึ่งองศาฯ เมื่อมีการตกไข่ (0.5 degree Celsius/C) ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) การจะคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ฝ่ายหญิงจะต้องมีการตรวจวัดอุณหภูมิของตนเองทุกเช้าหลังจากนอนหลับสนิทติดต่อกันอย่างน้อย ชั่วโมง ด้วยการใช้ปรอทวัดไข้ธรรมดาหลังจากตื่นนอน (เวลาในการวัดหลังตื่นนอนควรจะใกล้เคียงกันทุกครั้งในแต่ละวัน) สามารถวัดได้ทั้งทางรักแร้ ทางปาก ทางทวารหนัก และทางช่องคลอด ซึ่งในการวัดปรอทแต่ละครั้งจะต้องนานประมาณ นาที และที่สำคัญจะต้องทำการวัดปรอทก่อนที่จะทำกิจกรรมใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลุก เดิน หรือแม้แต่การพูดจา รวมไปถึงการสะบัดปรอท จึงควรสะบัดปรอทให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอน และควรวางปรอทไว้ใกล้ ๆ ตัว และพร้อมที่จะหยิบใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องลุกจากที่นอน แล้วจึงทำการจดบันทึกเอาไว้ เพื่อดูแนวโน้มและจะได้ประมาณวันตกไข่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ควรวัดติดต่อกันอย่างน้อย 2-เดือน
เมื่อวัดปรอทเสร็จแล้วก็ทำความสะอาดปรอทวัดไข้ให้เรียบร้อย รวมถึงการสะบัดปรอทให้พร้อมใช้สำหรับวันรุ่งขึ้นด้วย เมื่อดูจากค่าอุณหภูมิที่บันทึกเอาไว้ เราก็สามารถเลือกวันที่จะมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้
ตัวอย่าง : จากกราฟอุณหภูมิร่างกายด้านล่าง จะเห็นว่าวันที่ 1-13 เป็นช่วงก่อนตกไข่ อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ในระดับต่ำ พอถึงวันที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงตกไข่ อุณหภูมิร่างกายจะลดลงมาต่ำสุด และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันถัดไป ตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นไป อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นช่วงที่มีการตกไข่ไปแล้ว เมื่อถึงวันที่ 29 ที่เริ่มมีประจำเดือน อุณหภูมิก็จะค่อย ๆ ลดต่ำลงอีกครั้ง






การสังเกตอาการอื่น ๆ ประกอบการตรวจวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method) จะเป็นการใช้หลาย ๆ วิธีข้างต้น เช่น การนับวันปลอดภัย การวัดอุณหภูมิ และการสังเกตมูกที่ปากมดลูก ร่วมกับการสังเกตอาการปวดหน่วงท้องน้อยที่คาดว่าจะเกิดการตกไข่ อาการเจ็บคัดตึงเต้านม และการมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยเมื่อมีการตกไข่ (เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ) ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมากขึ้น
การใช้ชุดตรวจการตกไข่ (Ovulation indicator testing kits) ในปัจจุบันมีชุดตรวจคาดคะเนการตกไข่ที่ใช้สำหรับสตรีที่ต้องการจะตั้งครรภ์ และต้องการที่จะกำหนดช่วงเวลาการมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับวันตกไข่หรือใกล้ช่วงตกไข่มากที่สุด โดยในหลักการแล้วจะเป็นการตรวจหาฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ (Luteiniz ing hormone – LH) ในปัสสาวะ ซึ่งจะตรวจพบได้ใน 8-12 ชั่วโมงหลังจากมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน LH (LH surge) ในสตรีทั่วไปจะมีฮอร์โมน LH เป็นตัวกระตุ้นให้มีการตกไข่ ปริมาณของฮอร์โมน LH จะเพิ่มสูงขึ้นมากใน 20-48 ชั่วโมงก่อนการตกไข่ เราจึงสามารถใช้ชุดตรวจนี้ในการคุมกำเนิดได้โดยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระยะที่มีการตรวจพบฮอร์โมน LH ในปัสสาวะ
การสวนล้างช่องคลอด (Vaginal Douching) เป็นสุดยอดวิธีเก่าแก่ของคนสมัยก่อนที่ใช้กันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย โดยเฉพาะผู้หญิงพิเศษจะใช้วิธีนี้กันมาก ด้วยการสวนล้างช่องคลอดทันทีเมื่อร่วมเพศเสร็จ วิธีการก็คือการนั่งยอง ๆ แล้วใช้ลูกยางหรือขวดพลาสติกบีบน้ำยาเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งน้ำยาที่ใช้ก็อาจเป็นด่างทับทิม เดทตอล น้ำยาฆ่าอสุจิ หรือน้ำยาสวนล้างช่องคลอดอื่น ๆ แต่จากการศึกษาในสมัยใหม่นั้นพบว่า “ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยวิธีสวนล้างช่องคลอดมีความไม่แน่นอนสูง” เพราะภายหลังจากการร่วมเพศเพียง 90 วินาที (หนึ่งนาทีครึ่ง) ก็จะมีอสุจิส่วนหนึ่งว่ายผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกได้แล้ว ยิ่งถ้าหลังจากร่วมเพศแล้วไม่ได้สวนล้างทันที ก็ยิ่งได้ผลในการป้องกันน้อยลงมาก
ข้อดีของการสวนล้างช่องคลอด : หากไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ในขณะร่วมเพศ การใช้วิธีนี้ก็ยังดีกว่าการไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ เลย
ข้อเสียของการสวนล้างช่องคลอด : อาจเกิดปัญหาได้เล็กน้อย อย่างเช่น น้ำยาที่ใช้สวนล้างอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง มีอาการคัน หรือเกิดการแพ้น้ำยาในผนังช่องคลอดและปากช่องคลอดได้ หรือหากใช้น้ำยาเข้มข้นเกินไป หรือเลือกใช้ด่างทับทิมที่เป็นเกล็ด ก็ยิ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อช่องคลอดจนเกิดเป็นแผลอักเสบได้
การถ่ายปัสสาวะ (Urination) เป็นวิธีที่ไม่ได้ผลเช่นเดียวกับการสวนล้างช่องคลอด ในการถ่ายปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์เพราะเมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอด เชื้ออสุจิบางส่วนจะเข้าไปในโพรงมดลูกได้แล้ว วิธีดังกล่าวจึงไม่สามารถป้องกันน้ำอสุจิไม่ให้เข้าไปในโพรงมดลูกได้
การให้นมลูกหลังคลอดบุตรภายใน เดือนแรก (Lactational amenorrhea) เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้มานานและแพร่หลายมากของชาวบ้านในชนบท เพราะเป็นที่ทราบกันว่าถ้าหากให้ลูกดูดนมหลาย ๆ เดือนหรือดูดนมเป็นปี โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะน้อยลง เนื่องจากเมื่อทารกดูดนมแม่ ฮอร์โมนโปรแล็กติน (Prolactin) จะหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง และจะระงับการทำงานของฮอร์โมนตัวอื่น ๆ จึงทำให้ไม่มีไข่ตก แต่ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะใช้วิธีนี้แล้วได้ผลกันหมด ที่ไม่ได้ผลก็มีบ้างครับ แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นครับ โดยประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดจะขึ้นอยู่กับความถี่ของการดูดนมและระยะเวลาหลังการคลอด ถ้าทารกดูดนมถี่ ๆ ทุก 3-ชั่วโมงก็จะยิ่งได้ผลดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิธีนี้จะใช้ได้ผลในระยะ เดือนแรกหลังคลอดเท่านั้น แต่หลังจากผ่าน เดือนแรกไปแล้ว แม้ว่าลูกจะยังดูดนมอยู่ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากฮอร์โมนโปรแล็กตินจะลดน้อยลงในช่วงหลังจากนี้
ข้อดีของการคุมกำเนิดโดยให้นมบุตร : เป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ และคุณพ่อยังสามารถถึงจุดสุดยอดได้โดยไม่ต้องป้องกันใด ๆ และยังเป็นวิธีที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของลูกที่ได้ดูดนมแม่อีกด้วย
ข้อเสียของการคุมกำเนิดโดยให้นมบุตร : เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลในระยะสั้น ๆ หรือประมาณไม่เกิน เดือน สำหรับคุณแม่บางคนที่ให้ลูกดูดนมในเฉพาะตอนกลางคืน ส่วนกลางวันใช้นมผงช่วย หรือบางคนที่ต้องทำงานนอกบ้านหลังจากพัก 2-เดือนไปแล้วและหยุดให้นมลูก ก็จะมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ได้สูง และบางคนก็อาจตั้งครรภ์ได้ แม้จะยังให้ลูกดูดนมอยู่และยังไม่เลย เดือนก็ตาม พอมีการตกไข่ครั้งแรกก็จะมีการผสมและตั้งครรภ์เลยก่อนที่จะมีประจำเดือน ทำให้คุณแม่ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ใหม่แล้วกี่เดือน จึงคำนวณวันคลอดได้ไม่แน่นอน ทำให้ต้องคาดคะเนหรือตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด ??

การคุมกำเนิด :  34  วิธีการคุมกําเนิด  &  คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด  ?? การคุมกำเนิด การคุมกำเนิด   ( Contraception...