วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด ??


การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด ??





การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด (Contraception) คือ เทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์หรือขัดขวางการตั้งครรภ์ โดยอาศัยกลไกในการป้องกันหลายกลไก เช่น การป้องกันไม่ให้อสุจิกับไข่เกิดการปฏิสนธิ การป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ การป้องกันไม่ให้มีการฝังตัวอ่อนในโพรงมดลูกของสตรี รวมไปถึงการทำแท้งเพื่อนำตัวอ่อนออกจากมดลูกด้วย การคุมกำเนิดจึงเป็นหนึ่งในการวางแผนครอบครัวอย่างหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อจำกัดจำนวนการมีบุตร ซึ่งการคุมกำเนิดนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน และทำได้ทั้งหญิงและชาย
โดยฝ่ายหญิงควรเริ่มมีการคุมกำเนิดตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (เริ่มมีประจำเดือน) ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือตั้งแต่เมื่อคิดจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และควรจะคุมกำเนิดไปเรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะถึงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าจะมีอายุมากกว่า 50 ปีก็ตาม (หากอายุน้อยกว่า 50 ปี และยังมีประจำเดือนและมีเพศสัมพันธ์อยู่ ก็ควรจะคุมกำเนิดไปจนกว่าประจำเดือนจะหมดถาวรแล้วประมาณ ปี แต่ถ้าอายุมากกว่า 50 ปี ก็ควรจะคุมกำเนิดไปจนกว่าจะหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ปี)

ประเภทของการคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด (การวางแผนครอบครัว) สามารถแบ่งออกเป็น ประเภท (34 วิธี) คือ
1.       การคุมกำเนิดชั่วคราว คือ วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้เพียงชั่วคราว เมื่อหยุดใช้จะสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก แต่ยังต้องการที่จะมีลูกในอนาคต หรือในกรณีของคู่สมรสที่มีลูกแล้วและยังอยากมีลูกอีก หรือคู่สมรสที่มีลูกพอแล้วแต่ต้องการรอให้ลูกโตก่อนจึงจะหยุดการมีลูก ก็ควรจะใช้วิธีคุมกำเนิดชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะพร้อมทำหมัน โดยการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวสามารถแบ่งออกเป็น หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
·         การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural birth control) เป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ โดยอาศัยหลักทางสรีรวิทยาของการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง การตกไข่ และการมีประจำเดือน มาช่วยในการกำหนดวันปลอดภัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์หรือยาฮอร์โมนในการคุมกำเนิดแต่อย่างใด ซึ่งการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
o    การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence)
o    การสวนล้างช่องคลอด & การถ่ายปัสสาวะ (Douching and Urination)
§  การนับหน้า หลัง 7
§  การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method, Knaus-Ogino method)
§  การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard days method)
§  การตรวจมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus)
§  การวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature)
§  การสังเกตอาการอื่น ๆ ประกอบการตรวจวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method)
§  การใช้ชุดตรวจการตกไข่ (Ovulation indicator testing kits)
§  การให้นมบุตรหลังคลอดภายใน เดือน (Lactational amenorrhea)
·         การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เป็นการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ทำเลียนแบบฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิง คือ เอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน บางชนิดอาจจะต้องใช้ฮอร์โมนทั้งสองอย่าง แต่บางชนิดก็มีฮอร์โมนเพียงชนิดเดียว โดยรวมแล้วการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนแต่ละวิธีมีข้อดีอยู่มาก ให้ผลในการป้องกันสูง แต่ก็มีข้อเสียหรือผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย ได้แก่
§  ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptive pill)
§  ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestogen only pill)
§  ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Lunelle, Cyclofem)
§  ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Depo-Provera)
o    ยาฉีดฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone injection) (ไม่มีข้อมูล)
·         การคุมกำเนิดชั่วคราวด้วยวิธีอื่น ๆ
o    ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (IUD with copper)
o    ยากลุ่มเซิร์ม (Ormeloxifene) (ไม่มีข้อมูล)
2.       การคุมกำเนิดถาวร คือ วิธีการคุมกำเนิดที่สามารถคุมกำเนิดไปได้ตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เองอีก เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีลูกเพียงพอแล้วและไม่ต้องการมีลูกอีก โดยแบ่งเป็นการทำหมันชายและการทำหมันหญิง เสียเวลาทำเพียงครั้งเดียว สะดวก เจ็บไม่มาก ปลอดภัย ได้ผลดีมาก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องไปหาหมออีกเลย และไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
·         การทำหมันหญิง (Female sterilization)
o    การทำหมันแห้ง & การทำหมันเปียก หรือการทำหมันผ่าตัดแบบทั่วไป (Tubal ligation)
o    การทำหมันหญิงแบบอุดท่อนำไข่ (Essure)
o    การทำหมันหญิงโดยการตัดมดลูก (Hysterectomy)
·         การทำหมันชาย (Male sterilization)

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด


วิธีคุมกำเนิด
การใช้แบบทั่วไป
การใช้อย่างถูกต้อง
การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence)
0
0
ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant)
0.05 (ใน 2,000 คน)
0.05
ทำหมันชาย (Male sterilization)
0.15 (ใน 666 คน)
0.1
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน (IUD with progestogen)
0.2 (ใน 500 คน)
0.2
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)
0.2 (ใน 500 คน)
0.2
การทำหมันหญิงแบบอุดท่อนำไข่ (Essure)
0.26 (ใน 384 คน)
0.26
ทำหมันหญิงแบบทั่วไป (Tubal ligation)
0.5 (ใน 200 คน)
0.5
ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (IUD with copper)
0.8 (ใน 125 คน)
0.6
การให้นมบุตรหลังในระยะ เดือนแรก (Lactational amenorrhea)
2 (ใน 50 คน)
0.3
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature)
3.1 (ใน 33 คน)
0.3
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Lea's Shield (สตรีที่ไม่มีบุตร)
5 (ใน 20 คน)
ไม่มีข้อมูล
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดี่ยว)
6 (ใน 17 คน)
0.2
หมวกครอบปากมดลูกแบบ FemCap
7.6 (ใน 13 คน)
ไม่มีข้อมูล
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Prentif (สตรีที่ไม่มีบุตร)
9 (ใน 11 คน)
16
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Contraceptive patch)
9 (ใน 11 คน)
0.3
วงแหวนคุมกำเนิด (NuvaRing)
9 (ใน 11 คน)
0.3
ยาเม็ดคุมกำเนิด (Contraception pill)
9 (ใน 11 คน)
0.3
การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method)
ไม่มีข้อมูล
9
ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm)
12 (ใน คน)
6
ฟองน้ำคุมกำเนิด (สตรีที่ไม่มีบุตร)
12 (ใน คน)
19
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Lea's Shield (สตรีที่มีบุตร)
15 (ใน คน)
ไม่มีข้อมูล
ถุงยางอนามัยชาย (Male latex condom)
18 (ใน คน)
2
ถุงยางอนามัยสตรี (Female condom)
21 (ใน คน)
5
การหลั่งนอก (Coitus interruptus)
22 (ใน คน)
4
การสังเกตอาการอื่นร่วมกับการตรวจวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method)
24 (ใน คน)
0.4
การตรวจมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus)
24 (ใน คน)
3
การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard days method)
24 (ใน คน)
5
ฟองน้ำคุมกำเนิด (สตรีที่มีบุตร)
24 (ใน คน)
20
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Prentif (สตรีที่มีบุตร)
26 (ใน คน)
32
ยาฆ่าเชื้ออสุจิ (Spermicidal)
28 (ใน คน)
18
การหลั่งใน (ไม่มีการป้องกัน)
85 (ใน คน)
85

หมายเหตุ : ตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวจำนวน 100 คน โดยกำหนดให้ 
สีฟ้า = ความเสี่ยงต่ำมาก / สีเขียว = ความเสี่ยงต่ำ / สีเหลือง = ความเสี่ยงปานกลาง / สีส้ม = ความเสี่ยงสูง / สีแดง = ความเสี่ยงสูงมาก (ข้อมูลจาก : www.contraceptivetechnology.org, Comparison of birth control methods – Wikipedia)

การเลือกวิธีคุมกำเนิด

ก่อนจะตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใด การเลือกควรเป็นไปโดยความสมัครใจ โดยมีข้อควรพิจารณา คือ ความสะดวกในการใช้ ความสะดวกในการเข้าถึง ระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิด ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ ความสามารถในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัวหรือข้อเสียของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี และควรพิจารณาด้วยว่าเรามีลูกพอแล้วหรือยัง ถ้ายังมีไม่พอก็ควรจะเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว แต่ถ้ามีพอแล้วก็ควรเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบถาวรด้วยการทำหมัน ดังข้อมูลด้านล่าง
  • ผู้ที่มีอายุ 15-19 ปี แม้ว่าตนจะอยากมีลูกก็ตาม แต่ก็ยังไม่สมควรที่จะมีลูก ด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย จึงควรคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ก่อน
  • ผู้ที่มีอายุ 20-39 ปี ถ้ายังไม่มีลูกหรือยังไม่พร้อมที่จะมีลูก หรือผู้ที่มีลูกแล้ว 1-คน แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีลูกอีกหรือไม่ ควรเลือกคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไปก่อน ส่วนผู้ที่มีลูก คนขึ้นไป ในวัยนี้ควรเลือกคุมกำเนิดแบบถาวร (ทำหมันชายหรือหญิง)
  • ผู้ที่มีอายุ 40-49 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ใกล้จะหมดประจำเดือนแล้ว ถ้ามีลูก คน ควรรอให้บุตรโตก่อน แล้วจึงคุมกำเนิดแบบถาวร แต่ถ้ามีลูก คนขึ้นไป ถ้าไม่อยากเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน ก็อาจใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไปก่อนก็ได้จนกว่าประจำเดือนจะหมด

วิธีการคุมกำเนิด

วิธีคุมกำเนิดในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีคุมการกำเนิดแบบชั่วคราวที่นำมาใช้แล้วได้ผลเพียงพอหรือได้ผลดีในการป้องกันการตั้งครรภ์นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่วิธี (ไม่รวมวิธีการคุมกำเนิดถาวรหรือการทำหมัน) ได้แก่ การหลั่งน้ำอสุจิข้างนอกการนับระยะปลอดภัยสวนล้างช่องคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การสวมถุงยางอนามัยใช้ห่วงอนามัยยาฆ่าอสุจิการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด (ยาเม็ดยาฉีดยาฝังแผ่นแปะวงแหวนใส่ช่องคลอด ฯลฯ) และวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน (ยาคุมฉุกเฉิน) ซึ่งต่อไปนี้คือรายละเอียดการคุมกำเนิดแต่ละวิธีครับ เรามาดูกันว่าแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และคุณแม่ควรใช้วิธีใด 


  • https://medthai.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด ??

การคุมกำเนิด :  34  วิธีการคุมกําเนิด  &  คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด  ?? การคุมกำเนิด การคุมกำเนิด   ( Contraception...