การคุมกำเนิด : 34 วิธีการคุมกําเนิด & คุมกําเนิดแบบไหนดีที่สุด ??
การคุมกำเนิด
การคุมกำเนิด (Contraception) คือ เทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์หรือขัดขวางการตั้งครรภ์ โดยอาศัยกลไกในการป้องกันหลายกลไก เช่น การป้องกันไม่ให้อสุจิกับไข่เกิดการปฏิสนธิ การป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ การป้องกันไม่ให้มีการฝังตัวอ่อนในโพรงมดลูกของสตรี รวมไปถึงการทำแท้งเพื่อนำตัวอ่อนออกจากมดลูกด้วย การคุมกำเนิดจึงเป็นหนึ่งในการวางแผนครอบครัวอย่างหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อจำกัดจำนวนการมีบุตร ซึ่งการคุมกำเนิดนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน และทำได้ทั้งหญิงและชาย
โดยฝ่ายหญิงควรเริ่มมีการคุมกำเนิดตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (เริ่มมีประจำเดือน) ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือตั้งแต่เมื่อคิดจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และควรจะคุมกำเนิดไปเรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะถึงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าจะมีอายุมากกว่า 50 ปีก็ตาม (หากอายุน้อยกว่า 50 ปี และยังมีประจำเดือนและมีเพศสัมพันธ์อยู่ ก็ควรจะคุมกำเนิดไปจนกว่าประจำเดือนจะหมดถาวรแล้วประมาณ 2 ปี แต่ถ้าอายุมากกว่า 50 ปี ก็ควรจะคุมกำเนิดไปจนกว่าจะหมดประจำเดือนถาวรแล้ว 1 ปี)
ประเภทของการคุมกำเนิด
การคุมกำเนิด (การวางแผนครอบครัว) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (34 วิธี) คือ
1. การคุมกำเนิดชั่วคราว คือ วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้เพียงชั่วคราว เมื่อหยุดใช้จะสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก แต่ยังต้องการที่จะมีลูกในอนาคต หรือในกรณีของคู่สมรสที่มีลูกแล้วและยังอยากมีลูกอีก หรือคู่สมรสที่มีลูกพอแล้วแต่ต้องการรอให้ลูกโตก่อนจึงจะหยุดการมีลูก ก็ควรจะใช้วิธีคุมกำเนิดชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะพร้อมทำหมัน โดยการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวสามารถแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
· การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural birth control) เป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ โดยอาศัยหลักทางสรีรวิทยาของการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง การตกไข่ และการมีประจำเดือน มาช่วยในการกำหนดวันปลอดภัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์หรือยาฮอร์โมนในการคุมกำเนิดแต่อย่างใด ซึ่งการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
o การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence)
o การสวนล้างช่องคลอด & การถ่ายปัสสาวะ (Douching and Urination)
§ การนับหน้า 7 หลัง 7
§ การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method, Knaus-Ogino method)
§ การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard days method)
§ การตรวจมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus)
§ การวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature)
§ การสังเกตอาการอื่น ๆ ประกอบการตรวจวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method)
§ การใช้ชุดตรวจการตกไข่ (Ovulation indicator testing kits)
§ การให้นมบุตรหลังคลอดภายใน 6 เดือน (Lactational amenorrhea)
· การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เป็นการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ทำเลียนแบบฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิง คือ เอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน บางชนิดอาจจะต้องใช้ฮอร์โมนทั้งสองอย่าง แต่บางชนิดก็มีฮอร์โมนเพียงชนิดเดียว โดยรวมแล้วการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนแต่ละวิธีมีข้อดีอยู่มาก ให้ผลในการป้องกันสูง แต่ก็มีข้อเสียหรือผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย ได้แก่
§ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptive pill)
§ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestogen only pill)
§ ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Lunelle, Cyclofem)
§ ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Depo-Provera)
o ยาฉีดฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone injection) (ไม่มีข้อมูล)
· การคุมกำเนิดชั่วคราวด้วยวิธีอื่น ๆ
o ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (IUD with copper)
o ยากลุ่มเซิร์ม (Ormeloxifene) (ไม่มีข้อมูล)
2. การคุมกำเนิดถาวร คือ วิธีการคุมกำเนิดที่สามารถคุมกำเนิดไปได้ตลอดชีวิต ไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เองอีก เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีลูกเพียงพอแล้วและไม่ต้องการมีลูกอีก โดยแบ่งเป็นการทำหมันชายและการทำหมันหญิง เสียเวลาทำเพียงครั้งเดียว สะดวก เจ็บไม่มาก ปลอดภัย ได้ผลดีมาก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องไปหาหมออีกเลย และไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงเหมือนกับการใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
· การทำหมันหญิง (Female sterilization)
o การทำหมันแห้ง & การทำหมันเปียก หรือการทำหมันผ่าตัดแบบทั่วไป (Tubal ligation)
o การทำหมันหญิงแบบอุดท่อนำไข่ (Essure)
o การทำหมันหญิงโดยการตัดมดลูก (Hysterectomy)
· การทำหมันชาย (Male sterilization)
ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด
วิธีคุมกำเนิด
|
การใช้แบบทั่วไป
|
การใช้อย่างถูกต้อง
|
การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence)
|
0
|
0
|
ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant)
|
0.05 (1 ใน 2,000 คน)
|
0.05
|
ทำหมันชาย (Male sterilization)
|
0.15 (1 ใน 666 คน)
|
0.1
|
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน (IUD with progestogen)
|
0.2 (1 ใน 500 คน)
|
0.2
|
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)
|
0.2 (1 ใน 500 คน)
|
0.2
|
การทำหมันหญิงแบบอุดท่อนำไข่ (Essure)
|
0.26 (1 ใน 384 คน)
|
0.26
|
ทำหมันหญิงแบบทั่วไป (Tubal ligation)
|
0.5 (1 ใน 200 คน)
|
0.5
|
ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (IUD with copper)
|
0.8 (1 ใน 125 คน)
|
0.6
|
การให้นมบุตรหลังในระยะ 6 เดือนแรก (Lactational amenorrhea)
|
2 (1 ใน 50 คน)
|
0.3
|
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature)
|
3.1 (1 ใน 33 คน)
|
0.3
|
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Lea's Shield (สตรีที่ไม่มีบุตร)
|
5 (1 ใน 20 คน)
|
ไม่มีข้อมูล
|
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดี่ยว)
|
6 (1 ใน 17 คน)
|
0.2
|
หมวกครอบปากมดลูกแบบ FemCap
|
7.6 (1 ใน 13 คน)
|
ไม่มีข้อมูล
|
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Prentif (สตรีที่ไม่มีบุตร)
|
9 (1 ใน 11 คน)
|
16
|
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Contraceptive patch)
|
9 (1 ใน 11 คน)
|
0.3
|
วงแหวนคุมกำเนิด (NuvaRing)
|
9 (1 ใน 11 คน)
|
0.3
|
ยาเม็ดคุมกำเนิด (Contraception pill)
|
9 (1 ใน 11 คน)
|
0.3
|
การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method)
|
ไม่มีข้อมูล
|
9
|
ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm)
|
12 (1 ใน 8 คน)
|
6
|
ฟองน้ำคุมกำเนิด (สตรีที่ไม่มีบุตร)
|
12 (1 ใน 8 คน)
|
19
|
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Lea's Shield (สตรีที่มีบุตร)
|
15 (1 ใน 6 คน)
|
ไม่มีข้อมูล
|
ถุงยางอนามัยชาย (Male latex condom)
|
18 (1 ใน 5 คน)
|
2
|
ถุงยางอนามัยสตรี (Female condom)
|
21 (1 ใน 5 คน)
|
5
|
การหลั่งนอก (Coitus interruptus)
|
22 (1 ใน 4 คน)
|
4
|
การสังเกตอาการอื่นร่วมกับการตรวจวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method)
|
24 (1 ใน 4 คน)
|
0.4
|
การตรวจมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus)
|
24 (1 ใน 4 คน)
|
3
|
การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard days method)
|
24 (1 ใน 4 คน)
|
5
|
ฟองน้ำคุมกำเนิด (สตรีที่มีบุตร)
|
24 (1 ใน 4 คน)
|
20
|
หมวกครอบปากมดลูกแบบ Prentif (สตรีที่มีบุตร)
|
26 (1 ใน 3 คน)
|
32
|
ยาฆ่าเชื้ออสุจิ (Spermicidal)
|
28 (1 ใน 3 คน)
|
18
|
การหลั่งใน (ไม่มีการป้องกัน)
|
85 (6 ใน 7 คน)
|
85
|
หมายเหตุ : ตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวจำนวน 100 คน โดยกำหนดให้ สีฟ้า = ความเสี่ยงต่ำมาก / สีเขียว = ความเสี่ยงต่ำ / สีเหลือง = ความเสี่ยงปานกลาง / สีส้ม = ความเสี่ยงสูง / สีแดง = ความเสี่ยงสูงมาก (ข้อมูลจาก : www.contraceptivetechnology.org, Comparison of birth control methods – Wikipedia)
การเลือกวิธีคุมกำเนิด
ก่อนจะตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใด การเลือกควรเป็นไปโดยความสมัครใจ โดยมีข้อควรพิจารณา คือ ความสะดวกในการใช้ ความสะดวกในการเข้าถึง ระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิด ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ ความสามารถในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัวหรือข้อเสียของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี และควรพิจารณาด้วยว่าเรามีลูกพอแล้วหรือยัง ถ้ายังมีไม่พอก็ควรจะเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว แต่ถ้ามีพอแล้วก็ควรเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบถาวรด้วยการทำหมัน ดังข้อมูลด้านล่าง
- ผู้ที่มีอายุ 15-19 ปี แม้ว่าตนจะอยากมีลูกก็ตาม แต่ก็ยังไม่สมควรที่จะมีลูก ด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย จึงควรคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ก่อน
- ผู้ที่มีอายุ 20-39 ปี ถ้ายังไม่มีลูกหรือยังไม่พร้อมที่จะมีลูก หรือผู้ที่มีลูกแล้ว 1-2 คน แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีลูกอีกหรือไม่ ควรเลือกคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไปก่อน ส่วนผู้ที่มีลูก 3 คนขึ้นไป ในวัยนี้ควรเลือกคุมกำเนิดแบบถาวร (ทำหมันชายหรือหญิง)
- ผู้ที่มีอายุ 40-49 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ใกล้จะหมดประจำเดือนแล้ว ถ้ามีลูก 2 คน ควรรอให้บุตรโตก่อน แล้วจึงคุมกำเนิดแบบถาวร แต่ถ้ามีลูก 3 คนขึ้นไป ถ้าไม่อยากเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน ก็อาจใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไปก่อนก็ได้จนกว่าประจำเดือนจะหมด
วิธีการคุมกำเนิด
วิธีคุมกำเนิดในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีคุมการกำเนิดแบบชั่วคราวที่นำมาใช้แล้วได้ผลเพียงพอหรือได้ผลดีในการป้องกันการตั้งครรภ์นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่วิธี (ไม่รวมวิธีการคุมกำเนิดถาวรหรือการทำหมัน) ได้แก่ การหลั่งน้ำอสุจิข้างนอก, การนับระยะปลอดภัย, สวนล้างช่องคลอด, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การสวมถุงยางอนามัย, ใช้ห่วงอนามัย, ยาฆ่าอสุจิ, การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด (ยาเม็ด, ยาฉีด, ยาฝัง, แผ่นแปะ, วงแหวนใส่ช่องคลอด ฯลฯ) และวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน (ยาคุมฉุกเฉิน) ซึ่งต่อไปนี้คือรายละเอียดการคุมกำเนิดแต่ละวิธีครับ เรามาดูกันว่าแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และคุณแม่ควรใช้วิธีใด
https://medthai.com/